Search
Close this search box.

เวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคและการติดตาม (Monitoring) ประเมินสถานการณ์และผลกระทบจากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ภาคเหนือตอนบน

เวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคและการติดตาม (Monitoring) ประเมินสถานการณ์และผลกระทบจากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ภาคเหนือตอนบน 18 สิงหาคม 2565 ณ จังหวัดลำพูน สร้างสรรค์กิจกรรมโดย เครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ , มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ภายใต้การสนับสนุน สำนักงานการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สสส.
————————————————-

มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดได้จัดเวทีสัมมนาเชิงปฎิบัติการ คณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อติดตาม ประเมินสถานการณ์ และผลกระทบ จากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน

วันที่ 14-15 กันยายน 2565 @โรงแรมโมราจ จังหวัดพิษณุโลก มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดได้จัดเวทีสัมมนาเชิงปฎิบัติการ คณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อติดตาม ประเมินสถานการณ์ และผลกระทบ จากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนสนับสนุนโดยสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก(สำนัก 1) สสส.     ภาพปัญหายาเสพติดที่ถูกสะท้อนจากแกนนำเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง ความหลากหลายของตัวยาและรูปแบบวิธีการใช้ การเข้าถึง รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้เสพที่มีอายุน้อยลงสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่วงจรยาเสพติดที่มากกว่าแค่การอยากรู้อยากลอง ผลกระทบที่ตามมาคือแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชปัญหาเส้นความสัมพันของคนในครอบครัว ชุมชน สังคมที่ลดน้อยลง และถูกแทนที่โดยความซับซ้อนของปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นจากปัญหาดังกล่าวทำให้พัฒนาการของเครือข่ายภาคประชาชนพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ที่ได้สั่งสมมาขับเคลื่อนงานเชิงป้องกันในรูปแบบที่สร้างสรรค์ปรับรูปแบบ

Read More »

กิจกรรม “ปฏิบัติการทดลองใช้บทเรียนเพื่อการรู้เท่าทันผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับเด็กและเยาวชน” ณ โรงเรียนวันเสาร์ ศูนย์แสงอรุณ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

กิจกรรม “ปฏิบัติการทดลองใช้บทเรียนเพื่อการรู้เท่าทันผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับเด็กและเยาวชน” ระหว่างวันที่ 15 – 16 ตุลาคม 2565 ณ โรงเรียนวันเสาร์ ศูนย์แสงอรุณ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ร่วมจัดโดย มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด มูลนิธิภูมิพลังชุมชนไทย โดยการสนับสนุนของ IOGT NTO-Movement และ สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สสส. และโครงการ

Read More »

มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด จัด การประชุมโต๊ะวิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ครั้งที่ 1 เรื่องการพัฒนาหลักสูตรครอบครัวบำบัดสำหรับเยาวชนที่มีปัญหาจิตเวชและยาเสพติดด้านการป้องกันและดูแลผู้มีปัญหายาเสพติด ณ โรงแรมไอบิส เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรมไอบิส เชียงใหม่ มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส) จัด การประชุมโต๊ะวิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ครั้งที่ 1 เรื่องการพัฒนาหลักสูตรครอบครัวบำบัดสำหรับเยาวชนที่มีปัญหาจิตเวชและยาเสพติดด้านการป้องกันและดูแลผู้มีปัญหายาเสพติด มีผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากศาล, สถานพินิจฯ, สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ และจากภาคประชาสังคม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ครอบครัวบำบัด และหาแนวทางพัฒนาหลักสูตร/บุคลากรด้านครอบครัวบำบัด

Read More »

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยกระบวนการ CBDACพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอใน จ.สงขลา

“โลกสมัยใหม่ต้องการการเรียนรู้สูงมากเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง” เมื่อวันที่ 7-9 มีนาคม 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ภายใต้โครงการโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ สนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก.1) สสส.จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยกระบวนการ CBDAC(Context-Based Drug and Alcohol Control)เติมเต็มการเรียนรู้ให้กับแกนนำ อาสาสมัคร กลุ่มเยาวชนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอใน จ.สงขลาเพื่อการมองปัญหายาเสพติดและทุกปรากฎการณ์อย่างเข้าใจยิ่งเห็นปม ยิ่งเห็นรากลึก

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save