Search
Close this search box.

ประชุมที่ปรึกษาโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ ครั้งที่ 1 ปี 2566

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2566  มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดดำเนินการจัดการประชุมที่ปรึกษาโครงการเครือข่ายภาคประชาชน สร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ณ โรงแรม อมารี ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ในที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองข้อเสนอแนะของที่ปรึกษาต่อโครงการฯ ต่อปัจจัยที่าส่งผลต่อการขับเคลื่อนงานในทุกมิติ โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ – แนวทางบริบททางการเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงของนโยบายยาเสพติดส่งผลฉากทัศน์ต่อกระแสสังคม ณ ปัจจุบัน ต้องดำเนินภายใต้แนวคิดกระแสหลักการหาแนวร่วมของภาคีภายใต้มุมมองรวมถึงวิธีคิดบริบทนิเวศน์ที่หลากหลายและแตกต่างเพื่อนำไปสู่การหาแนวทางร่วม ภายใต้บทพิสูจน์ของบทเรียนและชุดความรู้ในแต่ละภูมิภาค – การนำบทเรียนไปประยุกต์ใช้เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนงานแผนงานบนความท้าทายการขยายฐานการทำงานพื้นที่ปลอดภัยไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น – การดำเนินการยกระดับองค์ความรู้ของพื้นที่ เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย – ประเด็นค่านิยมใหม่กับบทเรียนการทำงานที่ผ่านมากับการเท่าทันปัญหายาเสพติดภายใต้มิติเชิงซ้อนของปัญหาทางสังคม

การสัมมนาโต๊ะวิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ครั้งที่ 6

วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดสัมมนาโต๊ะวิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ครั้งที่ 6 เรื่อง “การดูแลผู้มีปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการในระดับพื้นที่” ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม โดยมี ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ เป็นประธานการเปิดสัมมนาและให้เกียรติร่วมเสวนากับนักวิชาการจากหลากหลายหน่วยงาน ณ ห้องประชุมฝ้ายคำ ชั้น 1 Green Nimman CMU (Uniserv CMU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ——————————————-

การสัมมนาโต๊ะวิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ครั้งที่ 5

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือจัดการสัมมนาโต๊ะวิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ครั้งที่ 5 เรื่อง การพัฒนาเครือข่ายภาคีวิชาการภาคเหนือตอนบน “สถานการณ์ทางสังคมบริบทภาคเหนือตอนบน ที่ส่งผลต่อปัญหาสารเสพติดในทัศนะของสถาบันการศึกษา และนักวิชาการ” ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม โดยมี ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ เป็นประธานการสัมมนาและให้เกียรติร่วมเสวนาร่วมกับนักวิชาการจากหลากหลายหน่วยงาน ณ ห้องประชุมฝ้ายคำ ชั้น 1 Green Nimman CMU (Uniserv CMU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     ——————————————-

เวทีสัมนาเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการศึกษาชุมชนเพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิด (ครั้งที่ 1)

“แม้จะมีความแตกต่างของผู้คน วิถีความเชื่อ และบริบทพื้นที่ทางสังคมแต่มีโจทย์ร่วมที่เหมือนกันคือ การมีพื้นที่ที่ปลอดภัยให้กับลูกหลานและคนในชุมชน“ เมื่อวันที่ 6-7 เมษายน 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด (SAAF) ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมจัดกิจกรรมเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการศึกษาชุมชนเพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิด ครั้งที่ 1 ณ รร.อมารีดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ ผ่าน ชุมชน 4 พื้นที่นำร่อง (ลำพูน, ราชบุรี, สกลนคร และกรุงเทพฯ) เพื่อเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาพื้นที่นำร่องธรรมนูญสุขภาพกัญชาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านแนวคิด “แม้จะมีความแตกต่างของผู้คน วิถีความเชื่อ และบริบทพื้นที่ทางสังคม แต่มีโจทย์ร่วมที่เหมือนกันคือ การมีพื้นที่ที่ปลอดภัยให้กับลูกหลานและคนในชุมชน โดยใช้รูปแบบ/วิธีการตามวิถีของแต่ละพื้นที่ มีชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิด” ………….

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้พ้นโทษในระดับพื้นที่ ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมพวงชมพู อาคาร E-park มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เ้รื่องการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้พ้นโทษในระดับพื้นที่ โดยเวทีนี้ได้เชิญบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานกรมราชทัณฑ์ นักวิชาการ และภาคประชาสังคมเข้าร่วมการสัมมนา โดยที่เวทีสัมมนาได้มีข้อเสนอแนะเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้พ้นโทษของกรมราชทัณฑ์ การเชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพจากระบบสาธารณสุขไปยังกรมราชทัณฑ์ หาศูนย์ care support ที่มีนักจิตวิทยา และเสนอแนะให้นำกลไก 5 ทหารเสือ มาพัฒนางานวิจัย เป็นต้น สนับสนุนการจัดสัมมนาโดย สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส) ขอบคุณภาพบรรยากาศงานจาก : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ………….

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยกระบวนการ CBDACพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอใน จ.สงขลา

“โลกสมัยใหม่ต้องการการเรียนรู้สูงมากเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง” เมื่อวันที่ 7-9 มีนาคม 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ภายใต้โครงการโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ สนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก.1) สสส.จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยกระบวนการ CBDAC(Context-Based Drug and Alcohol Control)เติมเต็มการเรียนรู้ให้กับแกนนำ อาสาสมัคร กลุ่มเยาวชนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอใน จ.สงขลาเพื่อการมองปัญหายาเสพติดและทุกปรากฎการณ์อย่างเข้าใจยิ่งเห็นปม ยิ่งเห็นรากลึก ยิ่งเข้าใจ และหาทางออกจากปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์  ณ โรงแรมบีพี แกรนด์ ทาวเวอร์ (BP Grand Tower Hotel) หาดใหญ่ ………….

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันตก

“แม้ว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ แต่เราก็ได้กำไร(ประสบการณ์ การเรียนรู้)” เมื่อวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ภายใต้โครงการโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ สนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก.1) สสส. จัดเวทีสัมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากลไกภาคีความร่วมมือการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด พื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันตก โดยในที่ประชุมได้สรุปผลการสัมมนาเพื่อช่วยกันหาทางออกภายใต้แนวคิด คำนึงถึงการอยู่ร่วมกัน การสร้างความรู้ใหม่ กลไกการจัดการร่วมของทุกภาคี (บำบัด ป้องกัน ปราบปราม) ต้องเข้าใจบริบทร่วมกันจริงๆ การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การคิดต่อ สำรวจตรวจสอบพื้นที่ปลอดภัยที่มีอยู่เดิม ต้องเข้าใจและรู้แบบลงลึก(ดำให้ลึก) เพื่อจะได้หาทางออกได้แม้ว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ แต่เราก็ได้กำไร(ประสบการณ์ การเรียนรู้) ณ โรงแรม ไมด้าแกรนด์ ทวารวดี จ.นครปฐม ………….

เวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยกระบวนการแก้ไขปัญหาสุรายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBDAC) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

“เพราะพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ จึงส่งผลต่อสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อทุกคนในวงกว้างปัญหายาเสพติดจึงไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของเรา เป็นเรื่องของทุกคน” เมื่อวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2566 โครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ โดยมูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักงานสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1 )สสส. จัดกิจกรรม เวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยกระบวนการแก้ไขปัญหาสุรายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBDAC) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อเสริมสร้างแนวความคิดและเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนแนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่และสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Safezone) ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน ณ โรงแรมประจักษ์ตราดีไซน์โฮเทล จ.อุดรธานี ………….

“ยอมรับความจริง มีระบบกลไกการตรวจสอบ” เวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของคนรุ่นใหม่ต่อการพัฒนานโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

เวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของคนรุ่นใหม่ต่อการพัฒนานโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด “ยอมรับความจริง มีระบบกลไกการตรวจสอบ” หลักการพื้นฐานกับพื้นที่เรียนรู้เท่าทันสถานการณ์ (เรียนรู้/ปรับตัว/รับมือกับการเปลี่ยนแปลง) เพื่อ จัดการกับมายาคติ(Bias)   วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 โครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างสุขภาวะ โดยมูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ (มศวส.) ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) สสส. ได้จัดกิจกรรมเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของคนรุ่นใหม่ต่อการพัฒนานโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (Hear Our Voice)  ณ ห้องประชุมอินทนิล สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กิจกรรมนี้ดำเนินการภายใต้แนวคิด หลักการพื้นฐานกับพื้นที่เรียนรู้เท่าทันสถานการณ์ ยอมรับความจริง (เรียนรู้/ปรับตัว/รับมือกับการเปลี่ยนแปลง) เพื่อ จัดการกับมายาคติ(Bias) มีระบบกลไกการตรวจสอบ เพื่อกระจายอำนาจเพื่อสร้างความสมดุล โดยภายในกิจกรรมได้มีเยาวชนคนรุ่นใหม่ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นพร้อมทำกิจกรรมร่วมกัน โดยทางผู้จัดจะได้นำความคิดเห็นและผลการตอบรับจากการทำกิจกรรมไปต่อยอดเพื่อเสนอแนะแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save