ทีมประเมินลงพื้นที่เรียนรู้การขับเคลื่อนงานพื้นที่ตัวแบบ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด โดยการขับเคลื่อนงานของ ชมรมสร้างสุขท่าชัย-ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ทีมประเมินลงพื้นที่เรียนรู้การขับเคลื่อนงานพื้นที่ตัวแบบการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดโดยการขับเคลื่อนงานของ ชมรมสร้างสุขท่าชัย-ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ภายใต้โครงการ การพัฒนาศักยภาพทีมแกนนำระดับชุมชนระดับเครือข่าย เพื่อยกระดับกลไกการทำงานแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาของเด็กและเยาวชน สร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชนโดยที่ประชุมได้ดำเนินการติดตามและประเมินผลโครงการผ่านการนำเสนอของตัวแทนโครงการในชุมชน และได้มีเสียงสะท้อนจากชุมชนฝากผ่านทีมประเมินมาดังนี้ แต่บทเรียนการทำงานทำให้เข้าใจว่า เราไม่สามารถทำให้ยาเสพติดหมดไปจากหมู่บ้านชุมชนได้ ถ้ายังมีคนเสพ คนติด และมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง การอยู่กับยาเสพติดอย่างปลอดภัย ด้วยรูปแบบวิธีการที่สร้างสรรค์ ป้องกันเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงไม่ให้ยกระดับเป็นคนเสพ ป้องกันกลุ่มเสพไม่ให้ยกระดับเป็นคนค้า คนขาย การสร้างความเข้าใจกับผู้นำ พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กกลุ่มเสี่ยง ชาวบ้าน ประชาชนในพื้นที่ และการให้พื้นที่กับเยาวชน ได้แสดงออกในทางที่ถูกต้อง มีพื้นที่ให้เด็กได้ร่วมคิดและออกแบบกิจกรรม ควบคู่กับการใช้มาตรการทางกฎหมายที่เข้มข้นกับกลุ่มผู้ค้า แม้ว่าเราอาจจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันในเวลาอันใกล้ แต่เชื่อได้เลยว่า ถ้ามีหนึ่งคนคิด สองคนทำ สามคนขยาย+บอกต่อ และอีกหลายร้อยคนได้ร่วมรับประโยชน์ “ย่อมจะเกิดพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง”
มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ร่วมกับ ปปส.ภาค 7 จัดกิจกรรมเวทีเสียงสะท้อนจากเยาวชนต่อสถานการณ์ทางสังคมในพื้นที่ภาคตะวันตก
เมื่อวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 7 จัดกิจกรรมเวทีสะท้อนจากเยาวชนต่อสถานการณ์ทางสังคมในพื้นที่ภาคตะวันตก สนับสนุนโดยสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สสส. ณ โรงแรม ไท่ซาน สวีท อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้มีโอกาส”พูด คุย รับ ฟัง กัน” “รู้ ทัน การ เปลี่ยน แปลง” เสียงสะท้อนจากตัวแทนเยาวชนและคุณครูผู้ใจดี เทคนิค-อาชีวะ พื้นที่ภาคตะวันตก ต่อสถานการณ์ทางสังคม ปัญหายาเสพติด โดยมีวิทยากรและตัวแทนเยาชนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประเด็นต่างๆในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ร่วมกัน ผ่านกลไก เพราะเงื่อนไขของชีวิต กับสังคมที่ต้องเรียนรู้ บนความเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนและหลากหลาย ไม่ใช่ “ก้าวที่ไม่พร้อม” แต่เป็น “ก้าวที่ตั้งใจ” ก้าวที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของเด็กเยาวชนในพื้นที่ในทางที่ดีขึ้น . ค่อย ๆ เรียนรู้ ค่อย ๆ ก้าวย่าง ค่อย ๆ ขยับขับเคลื่อน แม้เป็นก้าวเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ และมีค่ามหาศาล […]
มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดร่วมจัดเวทีสัมนาเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์สร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นแบบ ตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
วันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดร่วมจัดเวทีสัมนาเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์สร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นแบบ ตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุงซึ่งเป็นเวทีร่วมจัดระหว่างมูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดและเทศบาลตำบลโคกม่วง สนับสนุนโดยสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สสส. โดยเป็นเวทีที่จัดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ร่วมกันระดมสรรพกำลัง ระดมไอเดียจัดทำ(ร่าง)แผนยุทธศาตร์การป้องกันและสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง เพื่อ “ขับเคลื่อนงานไปสู่ภาพฝัน” ร่วมกัน
ทีมงานมูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดร่วมจัดกิจกรรม เวทีประเมินสถานการณ์ทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาวะชุมชนชายฝั่งทะเลอันดามัน
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดร่วมจัดกิจกรรมเวทีประเมินสถานการณ์ทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาวะชุมชนชายฝั่งทะเลอันดามัน พื้นที่ ม.6 บ้านหาดยาวเจ้าไหมโดยผู้นำชุมชนและ ทีม อสม. ต.เกาะลิบง จ.ตรัง โดยกิจกรรมนี้เกิดขึ้นจากเสียงสะท้อนจากวงคุยเล็กๆ ก่อเกิดเป็นความห่วงใยของเด็กเยาวชนกับความเสี่ยงในมิติต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเสพติดความก้าวร้าว และปัญหาสุขภาพที่ตามมาส่งผลให้เกิดความตื่นรู้และความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาในชุมชนผ่าน แนวคิด “ไม่ใช่แค่เพราะบทบาทหน้าที่ของทีม อสม แต่เพราะความรักของคนที่เป็นแม่ กับพลังเกินร้อยที่อยากเห็นชุมชนที่เราอยู่ดีขึ้น ได้รับโอกาส ไม่เป็นพื้นที่ที่ถูกลืม”
มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดจัดเวทีประชุมคณะแกนนำ เครือข่ายภาคประชาชน เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการป้องกันปัญหายาเสพติดและสร้างพื้นที่ปลอดภัยโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง
วันที่ 21 ตุลาคม 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดได้จัดเวทีประชุมคณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการป้องกันปัญหายาเสพติดและสร้างพื้นที่ปลอดภัยโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยการสนับสนุนจากสำนักงานสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยง (สำนัก1) สสส. โดยที่ประชุมได้รวมเอาเครือข่ายภาคประชาชนร่วมเสนอแนะแนวทางรวมถึงสะท้อนถึงปัญหาของการแก้ไขนโยบายยาเสพติด ภายใต้ความหวังใหม่ของการก้าวอย่างมีความหวังกับฝั่งการเมืองและหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความสนใจและเปิดใจเรียนรู้กับกระบวนการการทำงานของตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนในแต่ละภูมิภาค ที่ขับเคลื่อนงานมาอย่างยาวนานเพื่อปกป้องลูกหลาน ปกป้องคนในพื้นที่ชุมชนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดที่ซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อคนทุกคนในสังคม ณ โรงแรมอมารีดอนเมือง กรุงเทพฯ
ทีมติดตามและเสริมพลังโครงการเครือข่ายภาคประชาชน สร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ ลงพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานพื้นที่ตัวแบบ ในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด
วันที่ 23 กันยายน 2566 ทีมติดตามและเสริมพลังโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะลงพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานพื้นที่ตัวแบบในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด พื้นที่ ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง โดยที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนมุมมองรวมถึงถอดบทเรียนที่จะนำไปพัฒนาเป็นชุดความรู้ที่จะนำไปสู่การขยายประโยชน์ของการเพิ่มพื้นที่ทำงาน ตลอดจนการขยายเป็นพื้นที่ปลอดภัยอย่างสร้างสรรค์ ผ่านกลไก ระบบความสัมพันธ์ที่ดี ใช้ความเข้าใจ เปิดใจการการพูดคุย เป็นการจัดการเชิงบวก พื้นที่การเรียนรู้ที่พัฒนาคนควบคู่ไปกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเยาวชนในรูปแบบที่สร้างสรรค์ การออกแบบเพื่อยกระดับการเรียนรู้ร่วม
มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดจัดเวทีเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวแบบจากการขับเคลื่อนงานร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย โดยอาสาภาคประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
วันที่ 22 กันยายน 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ร่วมกับ ผู้บริหาร อบต.ตะมะยูง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส จัดเวทีนำเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวแบบจากการขับเคลื่อนงานร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยและการป้องกันปัญหายาเสพติดโดยอาสาสมัครภาคประชาชน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ภายใต้การสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สสส.โดยมีตัวแทนของพื้นที่ตัวแบบจำนวน 3 พื้นที่ร่วมสะท้อนชุดความรู้จากการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ พื้นที่ตัวแบบที่ 1 กลุ่มเยาวชนบ้านนาค้อใต้ต.มะกรูด อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี พื้นที่ตัวแบบที่ 2 บ้านกูแบรายอ ต.ละแอ อ.ยะหา จ.ยะลา พื้นที่ตัวแบบที่ 3 ต.ตะมะยูง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากภาคีจากภาคส่วนที่หลากหลายอาทิเช่น สส.กัณวีย์ สืบแสง สส.พรรคเป็นธรรม,นายอดุลย์ สาฮีบาตู นายก อบต.ตะมะยูง พร้อมคณะผู้บริหาร,ผู้แทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และภาคีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อ.ศรีสาคร โดยจัดขึ้นเพื่อเป็นมากกว่าเวทีการพบเจอ เพื่อสะท้อนบทเรียนการขับเคลื่อนงานพื้นที่ตัวแบบแต่เป็นการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมภายใต้บรรยากาศความใกล้ชิด ความเป็นพี่เป็นน้องเป็นการให้พื้นที่แห่งโอกาสกับคนทุกเพศวัย ทุกระดับ เป็นพื้นที่กลางที่ปลอดภัย เพื่อให้เข้าใจข้อเท็จจริงในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด ท้ายสุดของการจัดกิจกรรม […]
มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดจัดกิจกรรมสร้างสรรค์พัฒนาทักษะเด็กและเยาวชน บ้านลูโบะบาตู ต.ตะมะยูง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส
วันที่ 13 สิงหาคม 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดร่วมจัดกิจกรรมสร้างสรรค์พัฒนาทักษะเด็กและเยาวชน บ้านลูโบะบาตู ต.ตะมะยูง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ภายใต้แนวคิด“ปะสี สร้างฝัน ด้วยรอยยิ้ม” ร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่แห่งความสุข จากสองมือน้อย น้อยของ “จูเนียร์ ลูโบะบาตู” เด็กและเยาวชนบ้านลูโบะบาตู โดยกิจกรรมนี้ได้มุ่งเน้นที่การสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด ผ่านการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ โดยกิจกรรมครั้งนี้สนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สสส. ความสดใส รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ ได้ถูกสะท้อนผ่านการขีดเขียนงานศิลปะ มุมมองของหนูน้อยต่อ “หมู่บ้านในฝัน” ต่างคนต่างช่วยกันแต่งแต้ม จากกระดาษที่ว่างเปล่าเปลี่ยนเป็นความชัดเจน ของลายเส้นและสีสันที่ต่างคนต่างช่วยกันแต่งแต้ม การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในชุมชน ที่ให้ความสำคัญกับเด็ก เด็ก การสร้างเกราะป้องกันปัญหายาเสพติด ที่ “ทุกคนต่างมีส่วนร่วม”
มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดจัดเวที Focus group Discussion พื้นที่ชุมชนวัดอัมพวา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดจัดเวที Focus group Discussion. ผู้นำ/แกนนำชุมชน, อสส. ชาวบ้านและกลุ่มเด็กเยาวชนพื้นที่ชุมชนวัดอัมพวา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ โดยที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง ผู้นำชุมชน ตัวแทนชาวบ้านทุกภาคส่วน ทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ร่วมเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนในประเด็นเกี่ยวกับยาเสพติดและนโยบายกัญชาเสรีของรัฐ ในมุมมองต่างๆของภาคประชาชน รวมถึงสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่อยากจะแก้ไข ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือต้องการสร้างชุมชนให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย ปลอดยาเสพติด เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในชุมชน โดยโครงการนี้จัดภายใต้โครงการการพัฒนาพื้นที่นำร่องธรรมนูญสุขภาพกัญชา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน