Search
Close this search box.

มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดจัดเวทีเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวแบบจากการขับเคลื่อนงานร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย โดยอาสาภาคประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 กันยายน 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ร่วมกับ ผู้บริหาร อบต.ตะมะยูง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส จัดเวทีนำเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวแบบจากการขับเคลื่อนงานร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยและการป้องกันปัญหายาเสพติดโดยอาสาสมัครภาคประชาชน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ภายใต้การสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สสส.โดยมีตัวแทนของพื้นที่ตัวแบบจำนวน 3 พื้นที่ร่วมสะท้อนชุดความรู้จากการขับเคลื่อนงานในพื้นที่

  • พื้นที่ตัวแบบที่ 1 กลุ่มเยาวชนบ้านนาค้อใต้ต.มะกรูด อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
  • พื้นที่ตัวแบบที่ 2 บ้านกูแบรายอ ต.ละแอ อ.ยะหา จ.ยะลา
  • พื้นที่ตัวแบบที่ 3 ต.ตะมะยูง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส
กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากภาคีจากภาคส่วนที่หลากหลายอาทิเช่น สส.กัณวีย์ สืบแสง สส.พรรคเป็นธรรม,นายอดุลย์ สาฮีบาตู นายก อบต.ตะมะยูง พร้อมคณะผู้บริหาร,ผู้แทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และภาคีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อ.ศรีสาคร โดยจัดขึ้นเพื่อเป็นมากกว่าเวทีการพบเจอ เพื่อสะท้อนบทเรียนการขับเคลื่อนงานพื้นที่ตัวแบบแต่เป็นการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมภายใต้บรรยากาศความใกล้ชิด ความเป็นพี่เป็นน้องเป็นการให้พื้นที่แห่งโอกาสกับคนทุกเพศวัย ทุกระดับ เป็นพื้นที่กลางที่ปลอดภัย เพื่อให้เข้าใจข้อเท็จจริงในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด ท้ายสุดของการจัดกิจกรรม เราได้ 4 ข้อเสนอเชิงนโยบาย (ระยะสั้น) เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา

การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐานแก่นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ของศาลจังหวัดและศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัว สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 1

การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐานแก่นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ของศาลจังหวัดและศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัว สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 1 ผ่านระบบ Videoconference โปรแกรม ZOOM ระหว่างวันที่ ๙-๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๕ โดยมี ท่านอภิรดี โพธ์พร้อม รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๑ กล่าวเปิดและปิดการอบรมแบบออนไลน์ ทั้ง ๒ วัน และ

Read More »

มุมมองและเสียงสะท้อนของภาคีในพื้นที่ ต.พลายชุมพล ต่อประเด็นการขับเคลื่อนงานการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง เอาชนะยาเสพติดตำบลพลายชุมพล/สานฝันเพื่อวันใหม่

มุมมองและเสียงสะท้อนของภาคีในพื้นที่ ต.พลายชุมพล ต่อประเด็นการขับเคลื่อนงานการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง เอาชนะยาเสพติดตำบลพลายชุมพล/สานฝันเพื่อวันใหม่ เปลี่ยนภาพจำใหม่ ลบภาพจำเดิม เดิม ไม่ตีตรากับพื้นที่ที่เคยมีสถานการณ์ปัญหายาเสพติด ช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ให้ได้สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดกับทุกคนให้โอกาสกับผู้ที่เคยหลงผิดอย่างจริงใจ ทำให้คนทำงานมีความสบายใจและปลอดภัยกับการขับเคลื่อน เด็กทุกคนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเติบโตมาในครอบครัวแบบไหนร่ำรวย หรือยากจน บางครอบครัวร่ำรวยเงินทองแต่ยากจนเวลาหลายครอบครัวยากจนมีปัญหาครอบครัวแหว่งกลางเด็กขาดโอกาส ขาดทางเลือก โจทย์สำคัญของการขับเคลื่อนงาน ของ เครือข่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตำบลพลายชุมพล 1. การทำงานภายใต้สถานการณ์ปัญหายาเสพติดรุนแรง ความซับซ้อนของปัญหา 2. การทำงานป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดผู้เสพรายใหม่และ แก้ปัญหาการเสพซ้ำ ค้าซ้ำ

Read More »

เวทีสัมนาเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการศึกษาชุมชนเพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิด (ครั้งที่ 1)

“แม้จะมีความแตกต่างของผู้คน วิถีความเชื่อ และบริบทพื้นที่ทางสังคมแต่มีโจทย์ร่วมที่เหมือนกันคือ การมีพื้นที่ที่ปลอดภัยให้กับลูกหลานและคนในชุมชน“ เมื่อวันที่ 6-7 เมษายน 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด (SAAF) ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมจัดกิจกรรมเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการศึกษาชุมชนเพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิด ครั้งที่ 1 ณ รร.อมารีดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ ผ่าน ชุมชน 4 พื้นที่นำร่อง (ลำพูน, ราชบุรี,

Read More »

มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดได้จัดเวทีสัมมนาเชิงปฎิบัติการ คณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง เพื่อติดตาม ประเมินสถานการณ์ และผลกระทบ จากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน

วันที่ 24-25 กันยายน 2565 @โรงแรมแกลลอรี่ จ.ศรีษะเกษ มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดได้จัดเวทีสัมมนาเชิงปฎิบัติการ คณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง เพื่อติดตาม ประเมินสถานการณ์ และผลกระทบ จากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนสนับสนุนโดยสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก(สำนัก 1) สสส.     ภาพปัญหายาเสพติดที่ถูกสะท้อนจากแกนนำเครือข่ายพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง ความหลากหลายของตัวยาและรูปแบบวิธีการใช้ การเข้าถึง รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้เสพที่มีอายุน้อยลงสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่วงจรยาเสพติดที่มากกว่าแค่การอยากรู้อยากลอง ผลกระทบที่ตามมาคือแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชปัญหาเส้นความสัมพันของคนในครอบครัว ชุมชน สังคมที่ลดน้อยลง และถูกแทนที่โดยความซับซ้อนของปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นจากปัญหาดังกล่าวทำให้พัฒนาการของเครือข่ายภาคประชาชนพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง ใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ที่ได้สั่งสมมาขับเคลื่อนงานเชิงป้องกันในรูปแบบที่สร้างสรรค์ปรับรูปแบบ

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save