Search
Close this search box.

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้พ้นโทษในระดับพื้นที่ ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมพวงชมพู อาคาร E-park มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เ้รื่องการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้พ้นโทษในระดับพื้นที่ โดยเวทีนี้ได้เชิญบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานกรมราชทัณฑ์ นักวิชาการ และภาคประชาสังคมเข้าร่วมการสัมมนา โดยที่เวทีสัมมนาได้มีข้อเสนอแนะเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้พ้นโทษของกรมราชทัณฑ์ การเชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพจากระบบสาธารณสุขไปยังกรมราชทัณฑ์ หาศูนย์ care support ที่มีนักจิตวิทยา และเสนอแนะให้นำกลไก 5 ทหารเสือ มาพัฒนางานวิจัย เป็นต้น

สนับสนุนการจัดสัมมนาโดย
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส)
ขอบคุณภาพบรรยากาศงานจาก : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
………….

มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดได้จัดเวทีสัมมนาเชิงปฎิบัติการ คณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง เพื่อติดตาม ประเมินสถานการณ์ และผลกระทบ จากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน

วันที่ 24-25 กันยายน 2565 @โรงแรมแกลลอรี่ จ.ศรีษะเกษ มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดได้จัดเวทีสัมมนาเชิงปฎิบัติการ คณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง เพื่อติดตาม ประเมินสถานการณ์ และผลกระทบ จากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนสนับสนุนโดยสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก(สำนัก 1) สสส.     ภาพปัญหายาเสพติดที่ถูกสะท้อนจากแกนนำเครือข่ายพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง ความหลากหลายของตัวยาและรูปแบบวิธีการใช้ การเข้าถึง รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้เสพที่มีอายุน้อยลงสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่วงจรยาเสพติดที่มากกว่าแค่การอยากรู้อยากลอง ผลกระทบที่ตามมาคือแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชปัญหาเส้นความสัมพันของคนในครอบครัว ชุมชน สังคมที่ลดน้อยลง และถูกแทนที่โดยความซับซ้อนของปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นจากปัญหาดังกล่าวทำให้พัฒนาการของเครือข่ายภาคประชาชนพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง ใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ที่ได้สั่งสมมาขับเคลื่อนงานเชิงป้องกันในรูปแบบที่สร้างสรรค์ปรับรูปแบบ

Read More »

มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดจัดเวทีประชุมคณะแกนนำ เครือข่ายภาคประชาชน เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการป้องกันปัญหายาเสพติดและสร้างพื้นที่ปลอดภัยโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง

วันที่ 21 ตุลาคม 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดได้จัดเวทีประชุมคณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการป้องกันปัญหายาเสพติดและสร้างพื้นที่ปลอดภัยโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยการสนับสนุนจากสำนักงานสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยง (สำนัก1) สสส. โดยที่ประชุมได้รวมเอาเครือข่ายภาคประชาชนร่วมเสนอแนะแนวทางรวมถึงสะท้อนถึงปัญหาของการแก้ไขนโยบายยาเสพติด ภายใต้ความหวังใหม่ของการก้าวอย่างมีความหวังกับฝั่งการเมืองและหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความสนใจและเปิดใจเรียนรู้กับกระบวนการการทำงานของตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนในแต่ละภูมิภาค ที่ขับเคลื่อนงานมาอย่างยาวนานเพื่อปกป้องลูกหลาน ปกป้องคนในพื้นที่ชุมชนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดที่ซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อคนทุกคนในสังคม ณ โรงแรมอมารีดอนเมือง กรุงเทพฯ

Read More »

“น้ำพุโมเดล” ชุมชนต้นแบบด้านการจัดการพืชกระท่อมโดยตนเอง

“กระท่อมเป็น ยาไม่ใช่สิ่งเสพติดที่นี่ ต.น้ำพุ อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี ชุมชนที่ยืนยันว่าพืชกระท่อมเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคสารพัด และพันธุ์พืชสำคัญทางพิธีกรรมความเชื่อ ไม่ใช่สิ่งเสพติดทำลายชีวิตลองมาเปิดใจฟังมุมมองของชาวบ้าน พร้อมติดตามการขับเคลื่อนให้ชุมชนแห่งนี้กลายเป็นพื้นที่แรกที่สามารถใช้พืชกระท่อมได้โดยไม่ผิดกฎหมาย และชุมชนต้นแบบด้านการจัดการพืชกระท่อมโดยตนเอง

Read More »

เวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคและการติดตาม (Monitoring) ประเมินสถานการณ์และผลกระทบจากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ภาคเหนือตอนบน

เวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคและการติดตาม (Monitoring) ประเมินสถานการณ์และผลกระทบจากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ภาคเหนือตอนบน 18 สิงหาคม 2565 ณ จังหวัดลำพูน สร้างสรรค์กิจกรรมโดย เครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ , มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ภายใต้การสนับสนุน สำนักงานการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สสส. ————————————————-

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save