Search
Close this search box.

ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ลงพื้นแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ลงพื้นแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ทางทีมศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นำโดย ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ นายกิตติชัย เหลืองกำจร ที่ปรึกษาศูนย์ฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ร่วมกับ คณะทำงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของตำบลเขื่อนผาก อ.พร้าว ที่นำทีมโดยกำนันคนใหม่ นายณรงค์ แก้วใส, นางเสาวลักษณ์ ยาสุวรรณ โรงพยาบาลพร้าว และ นพ.สมิต ศมพันธุ์พงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสารภี จ.เชียงใหม่ เป็นการเสริมกำลังใจเพื่อดำเนินงานสร้างพื้นที่ปลอดภัยร่วมกันพร้อมถือโอกาสนี้สวัสดีปีใหม่ 2566 อีกด้วย  

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาสายพันธุ์กัญชงและพัฒนาเครือข่ายภาคีความร่วมมือการใช้ประโยชน์จากกัญชงอย่างสร้างสรรค์ พื้นที่ภาคเหนือตอนบนการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาสายพันธุ์กัญชงและพัฒนาเครือข่ายภาคีความร่วมมือการใช้ประโยชน์จากกัญชงอย่างสร้างสรรค์ พื้นที่ภาคเหนือตอนบน

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาสายพันธุ์กัญชงและพัฒนาเครือข่ายภาคีความร่วมมือการใช้ประโยชน์จากกัญชงอย่างสร้างสรรค์ พื้นที่ภาคเหนือตอนบน ——————————————————————————————————————————————————— การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาสายพันธุ์กัญชงและพัฒนาเครือข่ายภาคีความร่วมมือการใช้ประโยชน์จากกัญชงอย่างสร้างสรรค์ พื้นที่ภาคเหนือตอนบน ระหว่างวันที่ 11-12 มกราคม 2566 ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การประชุมดังกล่าวได้จัดขึ้นเพื่อพัฒนาต่อยอดความเป็นไปได้ของการปลูกกัญชงเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดของพี่น้องเกษตรกรที่สนใจจะปลูกโดยนำเสนอขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ตั้งแต่การขออนุญาตปลูก การคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์ การปลูกและการดูแล การเก็บเกี่ยว ตลอดถึงการการตลาด และได้มีแนวคิดที่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มสมาชิกผู้ปลูกกัญชงเพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันรวมถึงการต่อรองทางการค้าอีกด้วย ในงานมีการนำผลิตภัณฑ์กัญชงจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และบริษัทเอกชน มากมายหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม สบู่ น้ำมันนวด ผลิตภัณฑ์เสริมความงามเป็นต้น และได้มีการลงพื้นที่เรียนรู้การปลูกกัญชงของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากกัญชง (Hemp)อย่างสร้างสรรค์และเฝ้าระวังการใช้กัญชงในทางที่ผิดโดยกลไกการมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ดำเนินงานโดยศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนับสนุนโดย ป.ป.ส.

มุมมองและเสียงสะท้อนของภาคีในพื้นที่ ต.พลายชุมพล ต่อประเด็นการขับเคลื่อนงานการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง เอาชนะยาเสพติดตำบลพลายชุมพล/สานฝันเพื่อวันใหม่

มุมมองและเสียงสะท้อนของภาคีในพื้นที่ ต.พลายชุมพล ต่อประเด็นการขับเคลื่อนงานการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง เอาชนะยาเสพติดตำบลพลายชุมพล/สานฝันเพื่อวันใหม่ เปลี่ยนภาพจำใหม่ ลบภาพจำเดิม เดิม ไม่ตีตรากับพื้นที่ที่เคยมีสถานการณ์ปัญหายาเสพติด ช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ให้ได้สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดกับทุกคนให้โอกาสกับผู้ที่เคยหลงผิดอย่างจริงใจ ทำให้คนทำงานมีความสบายใจและปลอดภัยกับการขับเคลื่อน เด็กทุกคนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเติบโตมาในครอบครัวแบบไหนร่ำรวย หรือยากจน บางครอบครัวร่ำรวยเงินทองแต่ยากจนเวลาหลายครอบครัวยากจนมีปัญหาครอบครัวแหว่งกลางเด็กขาดโอกาส ขาดทางเลือก โจทย์สำคัญของการขับเคลื่อนงาน ของ เครือข่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตำบลพลายชุมพล 1. การทำงานภายใต้สถานการณ์ปัญหายาเสพติดรุนแรง ความซับซ้อนของปัญหา 2. การทำงานป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดผู้เสพรายใหม่และ แก้ปัญหาการเสพซ้ำ ค้าซ้ำ เพื่อควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่ 3. การสร้างระบบนิเวศทางสังคม(ปัจจัยแวดล้อม) เพื่อป้องกันการยกระดับพฤติกรรมของเด็กเยาวชน จากเสี่ยงเป็นเสพ และจากเสพเป็นผู้ค้า 4. ประเด็นการขับเคลื่อนงานภายใต้กฎหมายยาเสพติด(ฉบับใหม่) วันที่ 6 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุมเทศบาล ต.พลายชุมชน จ.พิษณุโลก เวทีการสร้างความเข้าใจและพัฒนาความร่วมมือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) และภาคีเครือข่าย (โครงการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติดตำบลพลายชุมพล/สานฝันเพื่อวันใหม่)

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพงานวิจัยเวชศาสตร์ครอบครัว ,FMAC Pre-Conference workshop,National Conference of Family Medicine 2022

    ศูนย์วิชาการเวชศาสตร์ครอบครัว ร่วมกับ สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สำนัก 7 สสส. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพงานวิจัยเวชศาสตร์ครอบครัว FMAC Pre-Conference workshop,National Conference of Family Medicine 2022 เพื่อต่อยอดและหนุนเสริมการทำงานของเครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อการยกระดับระบบสุขภาพปฐมภูมิให้ทำงานสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น  โดยในงานครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ หัวหน้าโครงการพัฒนาศูนย์วิชาการเวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ และ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สำนัก 7 สสส. กล่าวต้อนรับและเปิดเวทีในการประชุมดังกล่าว พร้อมเปิดเวทีให้นำเสนอผลงานวิจัยทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นศักยภาพของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ลงไปทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆในระดับพื้นที่ และใช้ต้นทุนที่มีอยู่เข้ามาป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งพบว่าเครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจะเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับการทำงานของระบบบริการปฐมภูมิให้ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ และเป็นกลไกสำคัญในระดับพื้นที่เพื่อสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนทุกช่วงวัยได้อย่างยั่งยืนต่อไป เมื่อวันพุธ ที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ

การจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาโครงการการสร้างพื้นที่ตัวแบบ Model Development ครั้งที่ 1

“พื้นที่ปลอดภัย คือพื้นที่ที่มีการจัดความสัมพันธ์แบบเพื่อน การเคารพคนอื่น เพราะทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่ากัน” การสร้างพื้นที่ตัวแบบ ภายใต้แนวคิดพื้นที่ปลอดภัย จึงเป็นการปรับ Mindset ของคนทำงาน เน้นแก้ไขที่ตัวคน ไม่ใช่ที่ตัวยา แม้ไม่สามารถทำให้ปลอดยาเสพติดได้ แต่ทุกคนในพื้นที่รู้สึกปลอดภัย ลดปัญหาการยกระดับพฤติกรรมของเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ขับเคลื่อนงานผ่านมุมมองปัญหาที่หลากมิติหลุดออกจากกรอบแนวคิดเดิมๆ วันที่หนึ่งของการจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาโครงการการสร้างพื้นที่ตัวแบบ Model Development ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 27 – 28 ตุลาคม 2565 ณ ibis Styles Chiang mai

กิจกรรม “ปฏิบัติการทดลองใช้บทเรียนเพื่อการรู้เท่าทันผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับเด็กและเยาวชน” ณ โรงเรียนวันเสาร์ ศูนย์แสงอรุณ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

กิจกรรม “ปฏิบัติการทดลองใช้บทเรียนเพื่อการรู้เท่าทันผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับเด็กและเยาวชน” ระหว่างวันที่ 15 – 16 ตุลาคม 2565 ณ โรงเรียนวันเสาร์ ศูนย์แสงอรุณ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ร่วมจัดโดย มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด มูลนิธิภูมิพลังชุมชนไทย โดยการสนับสนุนของ IOGT NTO-Movement และ สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สสส. และโครงการ เครือข่ายภาคประยาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ

การประชุมวางแผนการดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากกัญชง (Hemp) อย่างสร้างสรรค์และเฝ้าระวังการใช้กัญชงในทางที่ผิดโดยกลไกการมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

การประชุมวางแผนการดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากกัญชง (Hemp) อย่างสร้างสรรค์และเฝ้าระวังการใช้กัญชงในทางที่ผิดโดยกลไกการมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน วันที่ 7 ตุลาคม 2565 ณ Malada Space ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่  สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)

ประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 2/2565

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 2/2565 ณ ห้องประชุมผู้บริหาร 2 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทาง Online ผ่านระบบ Zoom Meetingโดยมีวาระหลักในการหารือทิศทางความร่วมมือระหว่าง ป.ป.ส.-มช. เพื่อรองรับการพัฒนายุทธศาสตร์/แผนวิชาการ ตามกฎหมายใหม่ รวมถึงประเด็นการใช้ประโยชน์จากพืชเสพติด, การป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในระดับพื้นที่, การพัฒนาบุคลากร/หลักสูตร/นักวิจัย รวมถึง การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและการสื่อสารสังคม เป็นต้น

มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด จัด การประชุมโต๊ะวิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ครั้งที่ 1 เรื่องการพัฒนาหลักสูตรครอบครัวบำบัดสำหรับเยาวชนที่มีปัญหาจิตเวชและยาเสพติดด้านการป้องกันและดูแลผู้มีปัญหายาเสพติด ณ โรงแรมไอบิส เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรมไอบิส เชียงใหม่ มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส) จัด การประชุมโต๊ะวิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ครั้งที่ 1 เรื่องการพัฒนาหลักสูตรครอบครัวบำบัดสำหรับเยาวชนที่มีปัญหาจิตเวชและยาเสพติดด้านการป้องกันและดูแลผู้มีปัญหายาเสพติด มีผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากศาล, สถานพินิจฯ, สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ และจากภาคประชาสังคม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ครอบครัวบำบัด และหาแนวทางพัฒนาหลักสูตร/บุคลากรด้านครอบครัวบำบัด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save