Search
Close this search box.

เวทีสัมมนาการพัฒนาพื้นที่ตัวอย่าง (Model Development) ในการใช้ชุมชนเป็นฐานสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและพัฒนาศักยภาพแกนนำภาคประชาชนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด จัดเวทีสัมมนาการพัฒนาพื้นที่ตัวอย่าง (Model Development) ในการใช้ชุมชนเป็นฐานสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดและพัฒนาศักยภาพแกนนำภาคประชาชนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด ร่วมกับแกนนำเครือข่ายภาคประชาชน 9 พื้นที่ตัวอย่าง, ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใน 5 ภูมิภาค ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ

โดยแกนนำเครือข่ายภาคประชาชน 9 พื้นที่ตัวอย่าง ,ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใน 5 ภูมิภาค ร่วมสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนงานฯ ภายใต้ 3 เป้าประสงค์สำคัญดังนี้
1.) เพื่อสร้างความเข้าใจต่อแนวทางการดำเนินงานของโครงการฯและพัฒนาพื้นที่ตัวอย่าง (Model development) ที่ใช้วิธีการพัฒนาและศึกษาโครงสร้างความรู้ในการป้องกันปัญหายาเสพติด
2.) เพื่อให้เกิดพื้นที่ในแลกเปลี่ยนรู้ร่วมกันระหว่างคนทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่
3.) เพื่อเติมเต็มทัศนะมุมมองพร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพแกนนำภาคประชาชนและหน่วยงานภาคีในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์

“จะเกิดอะไรขึ้นในชุมชนเมื่อปลดล็อก กัญชา ” กิจกรรมเสวนาออนไลน์ เพื่อร่วมหาแนวทางป้องกันร่วมกัน

ข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ จากการเสวนาออนไลน์ “จะเกิดอะไรขึ้นในชุมชนเมื่อปลดล็อกกัญชา ”ในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 13.00-16.00น.ถ้าปลดล็อกแล้วเราจะป้องกันการใช้ที่ผิดประเภท หรือป้องกันกลุ่มเสี่ยงไม่ให้เป็นผู้เสพหน้าใหม่ได้อย่างไรในชุมชน• เร่งให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน/ผู้กครอง/เยาวชน “เพื่อให้ชุมชนตื่นตัวและตื่นรู้” เพราะมุมมองต่อกัญชายังเป็นเชิงบวกอยู่ มาก ยังไม่ค่อยตระหนักถึงด้านอันตรายหรือผลจากการใช้ยาผิดประเภทเท่าที่ควร• เหล้า บุหรี่ กัญชา เป็นประตูไปสู่การเสพสารเสพติดชนิดอื่นๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มปริมาณและมีฤทธิ์ที่แรงขึ้น• การแก้ปัญหาทุกอย่างควรเริ่มจากพื้นฐานคือครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม หากพื้นฐานดีการจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกัญชาหรือสารเสพติดอื่นๆ ก็จะน้อยลง•

Read More »

มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดจัดเวทีเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวแบบจากการขับเคลื่อนงานร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย โดยอาสาภาคประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 กันยายน 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ร่วมกับ ผู้บริหาร อบต.ตะมะยูง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส จัดเวทีนำเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวแบบจากการขับเคลื่อนงานร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยและการป้องกันปัญหายาเสพติดโดยอาสาสมัครภาคประชาชน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ภายใต้การสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สสส.โดยมีตัวแทนของพื้นที่ตัวแบบจำนวน 3 พื้นที่ร่วมสะท้อนชุดความรู้จากการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ พื้นที่ตัวแบบที่ 1 กลุ่มเยาวชนบ้านนาค้อใต้ต.มะกรูด อ.โคกโพธิ์

Read More »

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้พ้นโทษในระดับพื้นที่ ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมพวงชมพู อาคาร E-park มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เ้รื่องการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้พ้นโทษในระดับพื้นที่ โดยเวทีนี้ได้เชิญบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานกรมราชทัณฑ์ นักวิชาการ และภาคประชาสังคมเข้าร่วมการสัมมนา โดยที่เวทีสัมมนาได้มีข้อเสนอแนะเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้พ้นโทษของกรมราชทัณฑ์ การเชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพจากระบบสาธารณสุขไปยังกรมราชทัณฑ์ หาศูนย์ care

Read More »

เวทีสัมมนาเชิงปฎิบัติการคณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคและการติดตาม (Monitoring) ประเมินสถานการณ์และผลกระทบจากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนสถานการณ์และแนวโน้มปัญหาสังคมและปัญหายาเสพติดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

“เมื่อมีโอกาสพูด ก็จะพูด เมื่อมีโอกาสทำ ก็จะทำ เพราะบางทีวันพรุ่งนี้ อาจไม่มีอยู่จริง” หนึ่งในคำพูดของแกนนำพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จากเวทีสัมมนาเชิงปฎิบัติการคณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคและการติดตาม (Monitoring) ประเมินสถานการณ์และผลกระทบจากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนสถานการณ์และแนวโน้มปัญหาสังคมและปัญหายาเสพติดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่สะท้อนอนาคตของเยาวชนในพื้นที่+ ค่านิยมสมัยใหม่ กลุ่มผู้หญิงอยู่ร้านน้ำชา เข้าถึงยาเสพติดชนิดใหม่ๆ+ เมื่อกฎหมายปลดล็อกพืชเสพติดบางชนิด จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เยาวชนเข้าถึงได้ง่าย กล้าลอง กล้าเปิดเผย เพราะไม่ ผิดกฎหมาย และมองยาเสพติดเป็นเรื่องปกติ +

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save