Search
Close this search box.

“ยอมรับความจริง มีระบบกลไกการตรวจสอบ” เวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของคนรุ่นใหม่ต่อการพัฒนานโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

เวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของคนรุ่นใหม่ต่อการพัฒนานโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

“ยอมรับความจริง มีระบบกลไกการตรวจสอบ” หลักการพื้นฐานกับพื้นที่เรียนรู้เท่าทันสถานการณ์ (เรียนรู้/ปรับตัว/รับมือกับการเปลี่ยนแปลง) เพื่อ จัดการกับมายาคติ(Bias)  


วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 โครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างสุขภาวะ โดยมูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ (มศวส.) ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) สสส. ได้จัดกิจกรรมเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของคนรุ่นใหม่ต่อการพัฒนานโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (Hear Our Voice)  ณ ห้องประชุมอินทนิล สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กิจกรรมนี้ดำเนินการภายใต้แนวคิด หลักการพื้นฐานกับพื้นที่เรียนรู้เท่าทันสถานการณ์
📌ยอมรับความจริง
(เรียนรู้/ปรับตัว/รับมือกับการเปลี่ยนแปลง)
เพื่อ จัดการกับมายาคติ(Bias)
📌มีระบบกลไกการตรวจสอบ
เพื่อกระจายอำนาจเพื่อสร้างความสมดุล
โดยภายในกิจกรรมได้มีเยาวชนคนรุ่นใหม่ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นพร้อมทำกิจกรรมร่วมกัน โดยทางผู้จัดจะได้นำความคิดเห็นและผลการตอบรับจากการทำกิจกรรมไปต่อยอดเพื่อเสนอแนะแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป

เวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคและการติดตาม (Monitoring) ประเมินสถานการณ์และผลกระทบจากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ภาคเหนือตอนบน

เวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคและการติดตาม (Monitoring) ประเมินสถานการณ์และผลกระทบจากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ภาคเหนือตอนบน 18 สิงหาคม 2565 ณ จังหวัดลำพูน สร้างสรรค์กิจกรรมโดย เครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ , มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ภายใต้การสนับสนุน สำนักงานการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สสส. ————————————————-

Read More »

เวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยกระบวนการแก้ไขปัญหาสุรายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBDAC) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

“เพราะพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ จึงส่งผลต่อสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อทุกคนในวงกว้างปัญหายาเสพติดจึงไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของเรา เป็นเรื่องของทุกคน” เมื่อวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2566 โครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ โดยมูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักงานสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1 )สสส. จัดกิจกรรม เวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยกระบวนการแก้ไขปัญหาสุรายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBDAC) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อเสริมสร้างแนวความคิดและเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนแนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่และสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Safezone) ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน ณ โรงแรมประจักษ์ตราดีไซน์โฮเทล

Read More »

การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐานแก่นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ของศาลจังหวัดและศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัว สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 1

การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐานแก่นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ของศาลจังหวัดและศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัว สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 1 ผ่านระบบ Videoconference โปรแกรม ZOOM ระหว่างวันที่ ๙-๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๕ โดยมี ท่านอภิรดี โพธ์พร้อม รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๑ กล่าวเปิดและปิดการอบรมแบบออนไลน์ ทั้ง ๒ วัน และ

Read More »

มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดจัดเวที Focus group Discussion พื้นที่ชุมชนวัดอัมพวา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดจัดเวที Focus group Discussion. ผู้นำ/แกนนำชุมชน, อสส. ชาวบ้านและกลุ่มเด็กเยาวชนพื้นที่ชุมชนวัดอัมพวา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ โดยที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง ผู้นำชุมชน ตัวแทนชาวบ้านทุกภาคส่วน ทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ร่วมเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนในประเด็นเกี่ยวกับยาเสพติดและนโยบายกัญชาเสรีของรัฐ ในมุมมองต่างๆของภาคประชาชน รวมถึงสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่อยากจะแก้ไข ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือต้องการสร้างชุมชนให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย ปลอดยาเสพติด เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในชุมชน โดยโครงการนี้จัดภายใต้โครงการการพัฒนาพื้นที่นำร่องธรรมนูญสุขภาพกัญชา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save