Search
Close this search box.

กิจกรรม KM องค์กรพี่เลี้ยงและแกนนำเยาวชนเพื่อลดปัญหาการใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติด ครั้งที่ 1

กิจกรรม KM องค์กรพี่เลี้ยงและแกนนำเยาวชนเพื่อลดปัญหาการใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติด ครั้งที่ 1เมื่อวันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 ผ่านระบบ Online และ On site ในแต่ละพื้นที่ภายใต้ข้อจำกัดด้วยสถานการณ์โควิดในปัจจุบัน ทางศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ทดลองจัดกิจกรรมแบบออนไลน์ โดยมีมีพี่เลี้ยงและแกนนำเยาวชน ที่เข้าร่วมกิจกรรมจัดการองค์ความรู้ จาก 5 พื้นที่

1.ชุมชนขุนแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

2.ชุมชนกูแบรายอ จ.ยะลา

3.ชุมชนโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

4.ศูนย์แสงอรุณ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

5.ชมรมรากดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้

กิจกรรมนี้จัดขึ้นโดยศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) สสส.

มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดได้จัดเวทีสัมมนาเชิงปฎิบัติการ คณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อติดตาม ประเมินสถานการณ์ และผลกระทบ จากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน

วันที่ 14-15 กันยายน 2565 @โรงแรมโมราจ จังหวัดพิษณุโลก มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดได้จัดเวทีสัมมนาเชิงปฎิบัติการ คณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อติดตาม ประเมินสถานการณ์ และผลกระทบ จากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนสนับสนุนโดยสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก(สำนัก 1) สสส.     ภาพปัญหายาเสพติดที่ถูกสะท้อนจากแกนนำเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง ความหลากหลายของตัวยาและรูปแบบวิธีการใช้ การเข้าถึง รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้เสพที่มีอายุน้อยลงสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่วงจรยาเสพติดที่มากกว่าแค่การอยากรู้อยากลอง ผลกระทบที่ตามมาคือแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชปัญหาเส้นความสัมพันของคนในครอบครัว ชุมชน สังคมที่ลดน้อยลง และถูกแทนที่โดยความซับซ้อนของปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นจากปัญหาดังกล่าวทำให้พัฒนาการของเครือข่ายภาคประชาชนพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ที่ได้สั่งสมมาขับเคลื่อนงานเชิงป้องกันในรูปแบบที่สร้างสรรค์ปรับรูปแบบ

Read More »

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการให้คำปรึกษาการจัดการภาวะเสพติด” แก่นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในระบบ ของศาลจังหวัดและศาลแขวงและศาลเยาวชนและครอบครัว ในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 1-9

ภาพบรรยากาศการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการให้คำปรึกษาการจัดการภาวะเสพติด” แก่นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในระบบ ของศาลจังหวัดและศาลแขวงและศาลเยาวชนและครอบครัว ในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 1-9 ผ่านระบบ Videoconference ระหว่างวันที่ 28-29 มิถุนายน 2565 และ 5-6 กรกฎาคม 2565โดยมี นายธนากร คัยนันท์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติ ด (ป.ป.ส.) ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมในครั้งนี้ ขอขอบคุณคณะวิทยากร

Read More »

ทีมติดตามและเสริมพลังโครงการเครือข่ายภาคประชาชน สร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ ลงพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานพื้นที่ตัวแบบ ในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด

วันที่ 23 กันยายน 2566 ทีมติดตามและเสริมพลังโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะลงพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานพื้นที่ตัวแบบในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด พื้นที่ ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง โดยที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนมุมมองรวมถึงถอดบทเรียนที่จะนำไปพัฒนาเป็นชุดความรู้ที่จะนำไปสู่การขยายประโยชน์ของการเพิ่มพื้นที่ทำงาน ตลอดจนการขยายเป็นพื้นที่ปลอดภัยอย่างสร้างสรรค์ ผ่านกลไก ระบบความสัมพันธ์ที่ดี ใช้ความเข้าใจ เปิดใจการการพูดคุย เป็นการจัดการเชิงบวก พื้นที่การเรียนรู้ที่พัฒนาคนควบคู่ไปกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเยาวชนในรูปแบบที่สร้างสรรค์ การออกแบบเพื่อยกระดับการเรียนรู้ร่วม

Read More »

การแพทย์ทางไกล (Telemedicine)

การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เป็นการตรวจรักษาผู้ป่วยผ่านระบบวิดิโอคอล ด้วยการซักประวัติ ตรวจประเมินและรักษาโรคเรื้อรังที่รับการรักษาต่อเนื่อง และโรคทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในภาวะฉุกเฉินการดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำ จำเป็นต้องได้รับการรบริการทางการแพทย์อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมเช่นเดียวกับประชาชนในกลุ่มอื่นๆ ของประเทศมารู้จัก การให้บริการแพทย์ทางไกลแก่ผู้ต้องขัง กับ พญ.ปิยวรรณ คำศรีพล โรงพยาบาลสกลนคร

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save