Search
Close this search box.

เวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยกระบวนการแก้ไขปัญหาสุรายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBDAC) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

“เพราะพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ จึงส่งผลต่อสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อทุกคนในวงกว้างปัญหายาเสพติดจึงไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของเรา เป็นเรื่องของทุกคน”

เมื่อวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2566 โครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ โดยมูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักงานสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1 )สสส. จัดกิจกรรม เวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยกระบวนการแก้ไขปัญหาสุรายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBDAC) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อเสริมสร้างแนวความคิดและเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนแนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่และสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Safezone) ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน ณ โรงแรมประจักษ์ตราดีไซน์โฮเทล จ.อุดรธานี
………….

กิจกรรมสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด พื้นที่บ้านลูโบะบาตู ม.4 ต.ตะมะยูง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส

วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด พื้นที่ลูโบะบาตู หมู่ 4 ตำบลตะมะยูง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส โดยรูปแบบกิจกรรมเป็นกิจกรรมสร้างความเข้าใจให้ประชาชนครัวเรือนบ้านลูโบะบาตู ม.4 ได้เข้าใจถึงปัญหาและโทษของยาเสพติดและได้ระดมพลังสมองในการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัย ให้กับเยาวชนและสมาชิกในหมู่บ้านและมุ่งสู่จุดหมายการเป็นหมู่บ้านในฝัน ผ่านกระบวนการ ร่วมกันรับผิดชอบ, ร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด,ร่วมกันพัฒนาศักยภาพเยาวชน,ร่วมกันพัฒนาสถาบันครอบครัว ณ มัสยิดมูฮัมมาดียะห์ ต.ตะมะยูง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส

Read More »

การประชุมสัมมนา “การนำเสนอผลการศึกษาการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดสารเสพติดจากงานนิติเวชศาสตร์ ตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ปี 2564”

การประชุมสัมมนา “การนำเสนอผลการศึกษาการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดสารเสพติดจากงานนิติเวชศาสตร์ ตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ปี 2564″ เมื่อวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2565 ทางออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)

Read More »

มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดได้จัดเวทีสัมมนาเชิงปฎิบัติการ คณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อติดตาม ประเมินสถานการณ์ และผลกระทบ จากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน

วันที่ 14-15 กันยายน 2565 @โรงแรมโมราจ จังหวัดพิษณุโลก มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติดได้จัดเวทีสัมมนาเชิงปฎิบัติการ คณะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในระดับพื้นที่ภูมิภาคพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อติดตาม ประเมินสถานการณ์ และผลกระทบ จากปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนสนับสนุนโดยสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก(สำนัก 1) สสส.     ภาพปัญหายาเสพติดที่ถูกสะท้อนจากแกนนำเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง ความหลากหลายของตัวยาและรูปแบบวิธีการใช้ การเข้าถึง รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้เสพที่มีอายุน้อยลงสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่วงจรยาเสพติดที่มากกว่าแค่การอยากรู้อยากลอง ผลกระทบที่ตามมาคือแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชปัญหาเส้นความสัมพันของคนในครอบครัว ชุมชน สังคมที่ลดน้อยลง และถูกแทนที่โดยความซับซ้อนของปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นจากปัญหาดังกล่าวทำให้พัฒนาการของเครือข่ายภาคประชาชนพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ที่ได้สั่งสมมาขับเคลื่อนงานเชิงป้องกันในรูปแบบที่สร้างสรรค์ปรับรูปแบบ

Read More »

ทีมประเมินลงพื้นที่เรียนรู้การขับเคลื่อนงานพื้นที่ตัวแบบ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด โดยการขับเคลื่อนงานของ ชมรมสร้างสุขท่าชัย-ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ทีมประเมินลงพื้นที่เรียนรู้การขับเคลื่อนงานพื้นที่ตัวแบบการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดโดยการขับเคลื่อนงานของ ชมรมสร้างสุขท่าชัย-ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ภายใต้โครงการ การพัฒนาศักยภาพทีมแกนนำระดับชุมชนระดับเครือข่าย เพื่อยกระดับกลไกการทำงานแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาของเด็กและเยาวชน สร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชนโดยที่ประชุมได้ดำเนินการติดตามและประเมินผลโครงการผ่านการนำเสนอของตัวแทนโครงการในชุมชน และได้มีเสียงสะท้อนจากชุมชนฝากผ่านทีมประเมินมาดังนี้ แต่บทเรียนการทำงานทำให้เข้าใจว่า เราไม่สามารถทำให้ยาเสพติดหมดไปจากหมู่บ้านชุมชนได้ ถ้ายังมีคนเสพ คนติด และมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง การอยู่กับยาเสพติดอย่างปลอดภัย ด้วยรูปแบบวิธีการที่สร้างสรรค์ ป้องกันเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงไม่ให้ยกระดับเป็นคนเสพ ป้องกันกลุ่มเสพไม่ให้ยกระดับเป็นคนค้า คนขาย การสร้างความเข้าใจกับผู้นำ พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กกลุ่มเสี่ยง ชาวบ้าน

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save