ข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ จากการเสวนาออนไลน์ “จะเกิดอะไรขึ้นในชุมชนเมื่อปลดล็อกกัญชา ”
ในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 13.00-16.00น.
ถ้าปลดล็อกแล้วเราจะป้องกันการใช้ที่ผิดประเภท หรือป้องกันกลุ่มเสี่ยงไม่ให้เป็นผู้เสพหน้าใหม่ได้อย่างไรในชุมชน
• เร่งให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน/ผู้กครอง/เยาวชน “เพื่อให้ชุมชนตื่นตัวและตื่นรู้” เพราะมุมมองต่อกัญชายังเป็นเชิงบวกอยู่ มาก ยังไม่ค่อยตระหนักถึงด้านอันตรายหรือผลจากการใช้ยาผิดประเภทเท่าที่ควร
• เหล้า บุหรี่ กัญชา เป็นประตูไปสู่การเสพสารเสพติดชนิดอื่นๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มปริมาณและมีฤทธิ์ที่แรงขึ้น
• การแก้ปัญหาทุกอย่างควรเริ่มจากพื้นฐานคือครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม หากพื้นฐานดีการจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกัญชาหรือสารเสพติดอื่นๆ ก็จะน้อยลง
• การให้ “วัคซีน” ที่ดีคือการเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยอย่างสร้างสรรค์และต่อเนื่อง
• การทำงานทุกอย่างควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านกลไกการสนับสนุนจากเครือข่ายชุมชน รวมถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ องค์กรทางด้านสุขภาพต่างๆ
• สร้างข้อตกลงการอยู่ร่วมกันของผู้ได้และผู้เสียประโยชน์จากการปลดล๊อกกัญชา และการอยู่ร่วมกันกับกัญชา(หรือสิ่งเสพติดอื่นๆ) อย่างไรให้ปลอดภัยและลดการขัดแย้ง
• หาวิธีการ/เทคนิคแก้ปัญหาแบบใหม่ๆ เพราะวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมอาจจะใช้ไม่ได้แล้ว
• ให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ถูกลืมในสังคม เช่นเยาวชนนอกระบบที่อาจเข้าสู่วงจรนักเสพหน้าใหม่ได้
ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ลงพื้นแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ลงพื้นแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ทางทีมศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นำโดย ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ นายกิตติชัย เหลืองกำจร ที่ปรึกษาศูนย์ฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ร่วมกับ คณะทำงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของตำบลเขื่อนผาก อ.พร้าว ที่นำทีมโดยกำนันคนใหม่ นายณรงค์ แก้วใส, นางเสาวลักษณ์