การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐานแก่นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ของศาลจังหวัดและศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัว สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 1
การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐานแก่นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ของศาลจังหวัดและศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัว สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 1 ผ่านระบบ Videoconference โปรแกรม ZOOM ระหว่างวันที่ ๙-๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๕ โดยมี ท่านอภิรดี โพธ์พร้อม รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๑ กล่าวเปิดและปิดการอบรมแบบออนไลน์ ทั้ง ๒ วัน และ นพ.ณัฐกร จำปาทอง ผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์มาให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมอบรมในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๕ การจัดการอบรมครั้งนี้โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ขอขอบคุณคณะวิทยากรจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์และทีมงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่มีส่วนสำคัญในการทำให้การจัดการอบรมครั้งนี้ลุล่วงไปด้วยดี
กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพคนรุ่นใหม่เพื่องานป้องกันและแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์และยาเสพติดและปัญหาทางสังคม CBDAC @Chiangrai
เวทีเสริมสร้างมุมมองการขับเคลื่อนงานสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดตำบลท่าชัย-ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
เวทีเสริมสร้างมุมมองการขับเคลื่อนงานสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดตำบลท่าชัย-ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัยจัดโดยชมรมสร้างสุขท่าชัย-ศรีสัชนาลัยร่วมกับ ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 11 มีนาคม 2565 ห้องประชุมเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัยสนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) สสส.
“จะเกิดอะไรขึ้นในชุมชนเมื่อปลดล็อก กัญชา ” กิจกรรมเสวนาออนไลน์ เพื่อร่วมหาแนวทางป้องกันร่วมกัน
ข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ จากการเสวนาออนไลน์ “จะเกิดอะไรขึ้นในชุมชนเมื่อปลดล็อกกัญชา ”ในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 13.00-16.00น.ถ้าปลดล็อกแล้วเราจะป้องกันการใช้ที่ผิดประเภท หรือป้องกันกลุ่มเสี่ยงไม่ให้เป็นผู้เสพหน้าใหม่ได้อย่างไรในชุมชน• เร่งให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน/ผู้กครอง/เยาวชน “เพื่อให้ชุมชนตื่นตัวและตื่นรู้” เพราะมุมมองต่อกัญชายังเป็นเชิงบวกอยู่ มาก ยังไม่ค่อยตระหนักถึงด้านอันตรายหรือผลจากการใช้ยาผิดประเภทเท่าที่ควร• เหล้า บุหรี่ กัญชา เป็นประตูไปสู่การเสพสารเสพติดชนิดอื่นๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มปริมาณและมีฤทธิ์ที่แรงขึ้น• การแก้ปัญหาทุกอย่างควรเริ่มจากพื้นฐานคือครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม หากพื้นฐานดีการจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกัญชาหรือสารเสพติดอื่นๆ ก็จะน้อยลง• การให้ “วัคซีน” ที่ดีคือการเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยอย่างสร้างสรรค์และต่อเนื่อง• การทำงานทุกอย่างควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านกลไกการสนับสนุนจากเครือข่ายชุมชน รวมถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ องค์กรทางด้านสุขภาพต่างๆ• สร้างข้อตกลงการอยู่ร่วมกันของผู้ได้และผู้เสียประโยชน์จากการปลดล๊อกกัญชา และการอยู่ร่วมกันกับกัญชา(หรือสิ่งเสพติดอื่นๆ) อย่างไรให้ปลอดภัยและลดการขัดแย้ง• หาวิธีการ/เทคนิคแก้ปัญหาแบบใหม่ๆ เพราะวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมอาจจะใช้ไม่ได้แล้ว• ให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ถูกลืมในสังคม เช่นเยาวชนนอกระบบที่อาจเข้าสู่วงจรนักเสพหน้าใหม่ได้
กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพคนรุ่นใหม่เพื่องานป้องกันและแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์และยาเสพติดและปัญหาทางสังคม
กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพคนรุ่นใหม่เพื่องานป้องกันและแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์และยาเสพติดและปัญหาทางสังคม ระหว่างวันที่ 25 – 27 มีนาคม 2565 ณ โรงแรมไชยนารายณ์ รีเวอร์ไซด์ อ.เมือง จ.เชียงราย โดย โครงการเสริมสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดโดยกลไกเครือข่ายภาคประชาชนร่วมป้องกันปัญหายาเสพติด และสร้างชุมชนสุขภาวะ ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ ร่วมกับ T-CEF สนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. และ IOGT-NTO Movementกลุ่ม/ชมรม นักเรียน นักศึกษา จำนวน 35 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้แก่1. สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย2. แกนนำนักเรียน โรงเรียนไชยะวิทยา จ.สุโขทัย3. ชมรม ฅน รักษ์ ธรรม เพื่อสังคมฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย4. กลุ่มจวนกั๋นสรรค์สร้าง โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม จ.เชียงราย5. ชมรมยอดหญ้าบนภูสูง มหาวิทยาลัยพะเยา6. ชมรมบูรณาการความรู้สู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่7. ชมรมรากดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตลอดระยะเวลา 3 วัน 2 […]
เวทีประชุมที่ปรึกษาโครงการฯ และนำเสนอผลการศึกษาเพื่อประเมินผลลัพธ์ (Evaluation Research) โครงการเสริมสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดโดยกลไกเครือข่ายภาคประชาชนร่วมป้องกันปัญหายาเสพติดและสร้างชุมชนสุขภาวะ
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดเวทีประชุมที่ปรึกษาโครงการฯ และนำเสนอผลการศึกษาเพื่อประเมินผลลัพธ์ (Evaluation Research) การขับเคลื่อนงานของโครงการเสริมสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดโดยกลไกเครือข่ายภาคประชาชนร่วมป้องกันปัญหายาเสพติดและสร้างชุมชนสุขภาวะแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในแต่ละภูมิภาค ภาคีวิชาการ ท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบ Onsite และ Online กับ 3 ประเด็นแลกเปลี่ยน ดังนี้ – แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยในระดับชุมชนท้องถิ่น– การจัดความสัมพันเชิงอำนาจ ชุมชน ภาครัฐ ภาควิชาการ– การพัฒนากลไกกลางณ โรงแรม ibis Styles Chiang Mai
สร้างสุขที่ท่าชัย-ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือร่วมกับชมรมสร้างสุขท่าชัย-ศรีสัชนาลัย ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) สสส. จัดกิจกรรม สร้างสุขที่ท่าชัย-ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย สร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด โดยใช้ฐานครอบครัวมุ่งสร้างพลังใจให้เด็กเยาวชน เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาสังคมผ่านกิจกรรม ถุงพลังใจจาก “เพื่อนถึงเพื่อน เคาะประตูบ้านเปิดประตูใจ” เพื่อเป็นการเริ่มต้น การสร้างพื้นที่ปลอดภัยของคน ต.ท่าชัย – ต.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
ท่อม ทอล์ก กระท่อมหลังปลดล็อค
หลังปลดล็อค ‘พืชกระท่อม’ ออกจากบัญชียาเสพติดได้ประมาณครึ่งปี สถานภาพของกระท่อมตอนนี้เป็นอย่างไร และจะมีแนวโน้มต่อไปอย่างไรในอนาคต? ชวนมาอัพเดตสถานการณ์ พร้อมเก็บเกี่ยวมุมมองความรู้กันได้ในคลิปบันทึกงานเสวนา #ท่อมทอล์ก นี้เลย
การแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เป็นการตรวจรักษาผู้ป่วยผ่านระบบวิดิโอคอล ด้วยการซักประวัติ ตรวจประเมินและรักษาโรคเรื้อรังที่รับการรักษาต่อเนื่อง และโรคทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในภาวะฉุกเฉินการดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำ จำเป็นต้องได้รับการรบริการทางการแพทย์อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมเช่นเดียวกับประชาชนในกลุ่มอื่นๆ ของประเทศมารู้จัก การให้บริการแพทย์ทางไกลแก่ผู้ต้องขัง กับ พญ.ปิยวรรณ คำศรีพล โรงพยาบาลสกลนคร